amb superslot

Epic Games Store แพลตฟอร์มเกม ที่แจกเกมหรือขายเกม

Epic Games Store แพลตฟอร์มเกม ที่แจกเกมหรือขายเกม
Epic Games Store

Steam เจ้าตลาดขายเกม PC ที่ครองโลกมาอย่างยาวนาน

Epic Games Store ร้านค้าจากทาง Valve นี้เป็นแพลตฟอร์มที่อยู่กับเรามานานตั้งแต่ปี 2003 เป็นร้านขายเกมที่รวบรวมเกม PC มากมายหลายเกม ไหนจะรวบรวมเกม Indy จากค่ายผู้พัฒนาเล็กๆ เอาไว้ในนี้มากมาย รวมถึงยังมีการสร้างเกมเป็นของตัวเองอย่าง Dota 2, Counter Stirke, Left4Dead, Half Life หรือเกมอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมันทำให้ปัจจุบันร้านค้าเกมนี้มีผู้เข้าใช้ต่อวันกว่าเกือบ 20 ล้านคนเลยทีเดียว และพอเมื่อ Steam กลายเป็นแพลตฟอร์มครองใจของใครหลายๆ คน กลายเป็นผู้นำด้านร้านขายเกม PC ที่ไม่มีใครอยากจะลงตลาดไปแข่งขัน มันเลยทำให้ Valve สามารถกำหนดราคาของสินค้าที่จะลงขายในร้านได้ด้วยตัวเอง อย่างเช่นการตัดส่วนแบ่งเกมขายอยู่ที่ 70/30 ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนเยอะมากๆ เพราะลองคิดดีๆ กว่าถ้าเกมคุณขายในราคา 1,000 บาท คุณโดนหักไปแล้วแน่ๆ คือ 300 บาท แต่ที่มันแลกมาก็คือ Steam ในฐานะที่มีผู้ใช้มากมาย โอกาสที่เขาจะเห็นเกมของคุณในกรณีที่คุณเป็นเกม Indy ก็จะมากขึ้น แต่กลับกับคือเกมค่ายใหญ่ๆ ที่มีฐานแฟนคลับอยู่แล้วจึงอาจจะคิดว่าส่วนแบ่งที่โดนตัดนี้มันมากเกินไป !! ถึงอย่างนั้นพวกเขาก็ยังต้องลงให้แพลตฟอร์ม Steam เพราะข้อดีของมันก็ยังคงความเป็นร้านค้าคุณภาพ และก็ถ้าไม่ลงให้กับร้านค้านี้ แล้วจะไปลงที่ไหนกันล่ะ

ผู้พัฒนารายใหญ่เริ่มมีร้านค้าเป็นของตัวเอง

หลังๆ มาผู้พัฒนารายใหญ่หลายๆ เจ้าเองก็เริ่มที่จะสร้างแพลตฟอร์มร้านค้าเกมเป็นของตัวเองแล้ว บางเจ้าเอาเลือกที่จะเอาเกมใหม่ๆ ของเขานั้นลงให้กับร้านนั้นเลย หรือบางเจ้าก็ลงให้กับ Steam ด้วยแต่สิทธิพิเศษจะน้อยกว่าหรือเกมจะแพงกว่าร้านของผู้สร้างนั่นเอง ซึ่งมันก็สำเร็จบ้าง ไม่ประสบความสำเร็จบ้าง ซึ่งข้อดีของการซื้อเกมจากร้านค้าผู้พัฒนาโดยตรงมันดียังไง ? ก็คือมันทำให้ผู้พัฒนาจะได้เงิน จากเกมเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ต้องโดนตัดค่าต๋งถ้าหากลงใน Steam หรือบางเกมทีผู้พัฒนาอาจจะลดราคาเกมให้ถูกลงดั่งที่พูดไว้ก่อนหน้าก็ได้ แต่ถามว่าร้านค้าพวกนี้จะขึ้นมาเทียบเท่ากับ Steam ไหมก็เปล่า ถึงแม้พวกเขาจะมีเกมอื่นมาขายบ้าง แต่ Steam เองก็ยังยืนหนึ่งเป็นแพลตฟอร์มร้านค้าเกมที่ไม่ได้สั่นคลอนบัลลังก์แต่อย่างใด เกมไหนผู้พัฒนาไม่เอามาลงก็ไม่ซีเรียส เพราะเกมจากค่ายอื่นๆ เองก็ยังมี !! มั่นใจในคุณภาพและฐานผู้ใช้ที่เหนียวแน่น ต่อให้ผู้เล่นจำเป็นต้องไปซื้อเกมจากร้านอื่นบ้าง (เพราะ Steam ไม่มี) แต่ถ้าให้เลือกได้พวกเขาก็อยากจะซื้อใน Steam อยู่ดี

การมาของ Epic Games พร้อมประกาศสงครามกับ Steam โดยตรง

Epic Games Store

ในเดือนธันวาคม 2018 บริษัท Epic Game เจ้าของเกมดังอย่าง Fortnite ได้ทำการเปิดตัวแพลตฟอร์มร้านค้าเกม PC เป็นของตัวเอง ที่มีจุดยืนในการที่อยากจะขึ้นมาแข่งขันกับ Steam อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากการประกาศตัดส่วนแบ่งของการขายเกมเพียงแค่ 12% เท่านั้นจากที่ Steam ตั้งไว้ 30% ทำให้ผู้พัฒนาได้รับรายได้จากการขายเกมเยอะกว่าเดิม ซึ่งมันเลยทำให้ผู้พัฒนาหลายๆ คนเริ่มสนใจแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น แต่ในช่วงแรกๆ ก็ยังไม่มีเกมที่จะลงให้กับเครื่องนี้มากนัก รวมถึงความยิ่งใหญ่ของ Steam เองที่มีฐานแฟนคลับต่อวันกว่า 20 ล้านคน ยังไงซะลงให้กับแฟลตฟอร์มเดิมน่าจะได้กำไรมากกว่าอยู่ดี แต่ถึงอย่างนั้นทาง EpicGamesStore ก็ได้ทำแผนการตลาดครั้งใหญ่คือการที่พวกเขานั้นไปดิลกับทีมพัฒนาเกม Indy หรือทีมค่ายยักษ์ต่างๆ อย่างเช่นการให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อแลกกับการให้เกมพวกเขานั้นลงให้กับร้านค้าของเขา พยายามไปปาดหน้าเกมดังๆ บางเกมให้ Exclusive บนร้านค้าเขาก่อนนะแล้วค่อยไปลงที่อื่น

ดราม่าบังเกิด

ซึ่งการที่ EpicGames Storeได้ดิลกับผู้พัฒนาหลายๆ เจ้าเพื่อให้พวกเขานั้นลงเกมเฉพาะร้านค้าตัวเอง จึงทำให้แฟนๆ กลุ่มใหญ่ๆ รู้สึกไม่พอใจว่าทำไมพวกเขานั้นจะต้องถูกบังคับให้เล่นเฉพาะร้านค้านี้เท่านั้น ซึ่งบางคนให้เหตุผลถึงเรื่องตัวระบบของเกมที่ยังไม่มีฟังชันดีพอเทียบเท่า Steam หรือบางคนเองก็อยากที่จะสะสมเกมของตัวเองไว้ในแพลตฟอร์มเดียวถ้าหากเป็นไปได้

เกมเมอร์หลายๆ คนเองก็ให้การตำหนิแพลตฟอร์มนี้เป็นอย่างมากเนื่องจากที่พวกเขาทำการตลาดที่น่าเกลียด หรืออาจจะว่าผู้พัฒนาบางเจ้าที่เห็นแก่เงิน พอ Epic GamesStore เอาเงินฟาดหัวหน่อยก็หนี Steam กันหมดบลาๆ เพราะมันมีกรณีของเกม Metro Exodus ที่ตอนแรกผู้พัฒนาเปิด Pre-Order ให้จับจองล่วงหน้าบน Steam แล้วแต่ภายหลังก็ถอดการซื้อขายออกและประกาศลงให้กับแฟลตฟอร์มคู่แข่งแทนเป็นเวลา 1 ปี จนทำให้แฟนเกมไม่พอใจเป็นอย่างมาก และถ้าให้พูดตามตรงว่ามันก็ไม่ยุติธรรมสำหรับเหล่าผู้เล่นซักเท่าไร

เหล่าเกมเมอร์บางกลุ่มเองก็คิดว่าการที่ Epic Games Storeทำอะไรแบบนี้มันไม่แฟร์เลย ทั้งๆ ระบบของตัวเองก็ไม่ดี มาแรกๆ Cloud Save ก็ไม่มี หลายๆ ลูกเล่นที่มีน้อยกว่า Steam หลายเท่า หรือจะเป็นดราม่าอย่างการที่พวกได้เอาข้อมูลของ Steam ไปใช้ เพื่อรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้เล่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือการที่พวกเขานั้นอยากจะทำลายการผูกขาดของ Steam ด้วยการเป็นคนผูกขาดซะเองเป็นต้น

ทำไม Epic Games Store ถึงต้องทำการตลาดให้คนด่า

ลองคิดดูสิว่ามีแพลตฟอร์มร้านค้าเกมออกมากี่ตัวแล้วทั้ง GOG, Origin และอื่นๆ อีกมากมาย กลับไม่มีร้านค้าเกมไหนที่จะขึ้นมาเทียบเท่ากับ Steam เลย เต็มที่ก็ทำได้เพียงแค่ขายเกมที่ตัวเองสร้างได้แค่นั้น ซึ่งมันมีคนที่ผูกขาดการตลาดอยู่แล้วการที่เราจะขึ้นมาให้เหนือหรือเทียบเท่ากับพระเจ้าผู้ครองโลกเราก็อาจจะต้องใช้กลวิธีที่ดูเป็นซาตานซักนิดหนึ่ง

กลไกการตลาดเป็นระบบที่เจ้าของสินค้าจะต้องชิงดีชิงเด่นกันอยู่แล้ว การตัดราคา การผูกขาดการตลาดบางอย่างมันเป็นเรื่องปกติของธุรกิจที่เห็นกันทั่วไป และคนที่ได้รับผลดีในอนาคตไม่ใช่ใครที่ไหนครับ มันคือผู้บริโภคอย่างเราๆ นี่แหละไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ยกตัวอย่างการแข่งขัน CPU Processor ของ Intel และ AMD Ryzen หรือจะเป็นการ์ดจอที่แข่งขันกันเรื่องประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา จนทำให้ เดี๋ยวนี้เราสามารถซื้ออุปกรณ์แรงๆ ในได้ราคาที่ถูกลงมามาก หรือจะเป็นการแข่งขันระหว่างเกมของผู้พัฒนาเอง ที่จะต้องหาอะไรใหม่ๆ มาเสิร์ฟตลอดเวลา ไม่งั้นก็จะไม่ตามเทรนและทำให้ความเชื่อใจต่อผู้พัฒนานั้นๆ น้อยลง และผู้ที่ได้รับคือใครล่ะ ? ก็เราเหล่าผู้บริโภคนั่นเอง ซึ่งการที่ Epic Games Storeทำอะไรแบบนี้ มันอาจจะกระตุ้นทำให้ทาง Steam คิดค้นระบบอะไรใหม่ๆ มาเสิร์ฟให้เรามากขึ้นก็ได้ หรืออาจจะมีแผนการตลาดใหม่ๆ เอาใจผู้บริโภคและผู้พัฒนามากขึ้นอีกกว่านี้ก็ได้

เพราะต้องยอมรับตามตรงว่าตอนนี้ Steam เป็นเสือนอนกินมากเกินไปแล้ว ถึงแม้พวกเขาจะอัพเดตตัวระบบ Steam ให้ดีขึ้น ไปจนถึงการอัพเดตแพทช์เกมที่เปิดอยู่ แต่ถึงอย่างนั้นการสร้างเกมใหม่ๆ ของค่ายนี้กลับชลอลงอย่างชัดเจน เมื่อก่อนเราน่าจะได้เห็นเกมของค่ายนี้อย่างน้อยสองปีจะออกหนึ่งตัวแน่ๆ แต่เดี๋ยวนี้อะไร 5-6 ปีกว่าจะสร้างซักเกม

ลองมองอีกมุม

ส่วนตัวก็เห็นด้วยนะครับกับในเรื่องดราม่าบางอย่างที่ตัว Epic Games Storeสร้างมาที่มันแย่มากๆ อย่างการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเหล่าเกมเมอร์ หรือบางระบบที่ส่วนตัวก็รู้สึกรำคาญเช่นกันสำหรับแพลตฟอร์มนี้ ที่ลูกเล่นมันน้อยกว่า Steam หลายเท่าตัว แต่ถึงอย่างนั้นถ้าลองมองอีกมุมหนึ่ง Epic Games Storeเองก็มีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการเกมเยอะเหมือนกันนะ อย่างในกรณีของการตัดส่วนแบ่งค่าหัวเพียงแค่ 12% ถึงแม้ว่าจะไม่ถาวร แต่ทางผู้พัฒนาก็จะได้รับเงินจากตรงนี้มากยิ่งขึ้น ทำให้เขามีรายได้จากสิ่งที่เขาสร้างมากกว่าเดิม และเห็นผลได้ชัดสำหรับเกมที่ไม่ได้มีชื่อชั้นใหญ่โตอย่างเกมอินดี้ทั้งหลายแหล่ แต่เดิมพวกเขาเองก็ไม่สามารถการันตรีได้อยู่แล้วว่าเกมเขานั้นจะสามารถวางขายได้ตามเป้าหรือไม่ แต่การที่ EpicGamesStore สนับสนุนเรื่องเงินพวกเขาเพื่อการันตรีรายได้แน่นอนในการที่พวกเขาจะป้องกันการขาดทุนได้

หรือจะเป็นการกอบกู้และสานต่อบางซีรีส์ที่คิดว่าจะไม่จบแล้วอย่าง The Walking Dead: Telltale Series ที่ทางผู้พัฒนาทำการปิดบริษัทเนื่องจากรายได้ไม่ดี แต่ทางร้านค้าเกมนี้เองก็เข้ามาสนับสนุนทันที และผลักดันให้เกมนี้สร้างต่อจนจบภาคสุดท้ายอย่างสวยงามได้

ถ้าให้ถามว่า Epic Games Storeทำการตลาดน่าเกลียดไหม ส่วนตัวก็ต้องบอกว่ามันก็น่าเกลียดอยู่เหมือนกันนะ แต่ลองคิดกลับกันว่าถ้าหากคุณมีเงินทุนอู้ฟู้ !! ทำยังไงดีนะที่จะให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จักเยอะ ? บางทีเราๆ เองก็อาจจะทำเหมือน Epic GamesStore ตอนนี้ก็เป็นได้ เพราะการตลาดคือการชิงดีชิงเด่น !!